วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551

มะลิ



ชื่อวิทยาศาสตร์ Jusminum adenophyllumวงศ์ OLEACEAE
ชื่ออื่นๆ มะลิลา มะลิหลวง มะลิซ้อน
ลักษณะ ทั่วไป เป็นพรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออ กรอบๆ ลำต้นประมาณ 5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ ไปตามก้านต้นลักษณะใบป้อมมน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบยาว 2-3 นิ้ว มีดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อตามปลายยอดหรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม มีทั้งดอกลาและ

ดอกซ้อนออกดอกตลอดปีดอกมะลิยังใช้ในวันแม่ เหตุผลที่ให้ดอกมะลิมาใช้ในวันแม่ก็เพราะ ดอกมะลิมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและนาน อีกทั้งยังมีดอกตลอดปี เปรียบได้กับความรักของแม่ที่ไม่เสื่อมคลาย

แหล่งที่มา http://web.ku.ac.th/agri/justmine/index.html

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เทคโนโลยี Smart Card


เมื่อเอ่ยถึงสมาร์ทการ์ด (Smart card) หลายคนคงรู้สึกงงว่ามันคืออะไรกันแน่ แต่ถ้าบอกว่ารู้จักบัตรเอทีเอ็ม คราวนี้คงพอเข้าใจได้ แต่ถ้าลองนึกย้อนหลังไปสัสิบปี บัตรเอทีเอ็มก็ยังเป็นของใหม่มาก ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงเรื่องราวของสมาร์ทการ์ด ว่ามันเป็นอะไร มีประโยชน์อย่างไร กล่าวว่ามันเป็นบัตรอเนกประสงค์สำหรับวันนี้และอนาคต

Smart Card สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ




1. Smart Card แบบมีการสัมผัส (Contact smart cards) ซึ่งการใช้งานจำเป็นต้องมีการสอดใส่เข้าไปในเครื่องอ่านมาร์ทการ์ด (smart card reader)

2. Smart Card แบบไม่มีการสัมผัส (Contactless smart cards) ซึ่งการใช้งานต้องการเพียงให้วางอยู่ใกล้ ๆ กับสายอากาศ






Smart Card
แบบมีการสัมผัส เป็นบัตรที่มีการผนึกชิพทองขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งนิ้ว เอาไว้ที่ด้านหน้าบัตร แทนการใช้แถบแม่เหล็ก (Magnetic stripe) ที่เคยพบเห็นใช้กันมากที่สุดในบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็ม เมื่อผู้ใช้สอดใส่บัตรเข้า
ในเครื่องอ่านบัตร Smart Card แล้ว มันจะคอนเน็กเตอร์ทางไฟฟ้า ซึ่งจะทำการส่งถ่ายข้อมูลเข้าและออกจากชิพ
Smart Card แบบไม่มีการสัมผัส เป็นบัตรที่มองดูรูปร่างภายนอกแล้วคล้ายกับบัตรเครดิตพลาสติกแบบหนึ่ง ที่ภายในมีการผนึกชิพคอมพิวเตอร์และขดลวดสาอากาศไว้ภายใน ซึ่งใช้ในการติดต่อกับเครื่องรับส่งที่อยู่ในระยะไกล โดยทั่ว ๆ ไปเรามักใช้บัตรแบบนี้เมื่อต้องมีการดำเนินการทางด้านรายการ (Transactions) อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่นที่ใช้กับการจัดเก็บเงินค่าผ่านทางด่วน
นอกจากบัตร Smart Card ทั้ง 2 แบบดังล่าวแล้ว ปัจจุบันยังมีการผลิต Smart Card แบบผสมหรือที่เรียกว่า คอมบิการ์ด (Combi Card) ออกมาใช้งานอีกด้วย โดยบัตรแบบนี้เป็นบัตรใบเดียวแต่ทำหน้าที่เป็นทั้งสมาร์ทการ์ดแบบมีการสัมผัส และสมาร์ทการ์ดแบบไม่มีการสัมผัสเพื่อเพิ่มความสะดวกและประโยชน์ในการใช้งานมากขึ้น



หากพูดถึงความสามารถของ Smart Card แล้ว คงมาจากแผงวงจรรวม (IC) ที่ฝังอยู่ในบัตรพลาสติก ซึ่งเราสามารถที่จะทำให้มันมีการทำงานทางอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะเดียวกันนี้ ด้วยการฝังวงจรรวม (IC) ที่คล้ายคลังกันนี้ในวัตถุอื่น ๆ ที่ใช้งานกันอยู่ทุกวัน แล้วด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีของบัตรก็คือ สิ่งที่เรียกว่า แท็ก (Tags) โดยแท็กทำหน้าที่เป็นเสมือน Smart Card ที่ไม่มีการสัมผัส แต่อยู่ในรูปของเหรียญ แหวน หรือแม้แต่ป้ายติดกระเป๋า แทนที่จะอยู่ในรูปบัตร โดยทั่ว ๆ ไปมีการนำมันไปติดยึดไว้กับวัตถุ หรือสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้สามารถควบคุมหรือป้องกันข้อมูลโดยไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับวัตถุนั้น ๆ ทำให้สามารถควบคุม และจัดการกับสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลในลักษณะ manual data handling ด้วยระบบจัดการข้อมูล

นอกจากนี้อีกไม่นานก็จะมีการใช้ไบโอเมทตริค (Biometric) ที่ช่วยให้การตรวจสอบความถูกต้องของบุคคลได้จากมือ ลายนิ้วมือ เยื่อภายในลูกตา หรือเสียงพูด และต่อไปในไม่ช้านี้อาจมีทางเป็นไปได้ที่จะตรวจรับรองการใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ใน Smart Card ได้ โดยใช้คำพูดหรือมือสัมผัส


Smart Card
มีข้อดีหลายประการที่ควรกล่าวถึง คือ
  1. พิสูจน์แล้วว่ามีความไว้วางใจได้ดีกว่าบัตรที่ใช้แถบแม่เหล็ก

  2. สามารถเก็บสะสมข้อมูลได้มากกว่าบัตรที่ใช้แถบแม่เหล็กเป็นร้อย ๆ เท่า
  3. ลดโอกาสที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวและป้องกันการปลอมแปลงด้วยระบบป้องกันที่ซับซ้อน
  4. สามารถเปลี่ยนมือและนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  5. ทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้มากมาย
  6. สามารถนำไปใช้ในงานต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น การขนส่ง ธนาคาร และการรักษาสุขภาพ เป็นต้น
  7. สามารถประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาต่าง ๆ ได้ เช่น เครื่องโทรศัพท์และเครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว
  8. ทำงานด้วยเทคโนโลยีเซมิคอนดัคเตอร์ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

    ในสังคมยุคใหม่ต้องการข้อมูลข่าวสารมากมาย Computer ช่วยให้เราสามารถจัดการกับข่าวสารเหล่านี้ได้Smart Card จะช่วยให้เรามีหนทางใหม่ในการจัดการและควบคุมข่าวสารดังกล่าวได้ด้วยตนเอง การใช้เทคโนโลยีของ Smart Card ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองได้ และยังเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย



    แหล่งที่มา : http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/smart_c.htm


วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ตัวอย่างระบบสำนักงานอัตโนมัติ

ระบบการประชุมทางไกล Teleconferencing


หน่วยงานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ หรือ บริษัทเอกชนที่มีขนาดใหญ่ ศูนย์กลางมักจะอยู่เมืองหลวง ครั้นถึงเวลาที่จะประชุมก็จะเรียบบรรดาหัวหน้าส่วน หรือ ผู้จัดการสาขาเข้ามาประชุมที่กรุงเทพฯ ค่าใช้จ่าย
ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่ายานพาหนะ ที่จะต้องเบิกจ่ายจากส่วนกลางนั้นค่อนข้างมาก ครั้นเมื่อเทคโนโลยีได้ก้าวหน้ามากพอที่จะจัดประชุมทางไกลก็ได้บังเกิดขึ้น ซึ่งการติดต่อสื่อสารประชุมทางไกลผ่านดาวเทียมนี้ อาจจะผ่านสายโทรศัพท์ หรือผ่านสาย Leased Line (เป็นสายโทรศัพท์ประเภทหนึ่งที่ต่อตรงระหว่างต้นทางปลายทาง จ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือน) หรือผ่านดาวเทียมก็ได้เริ่มให้บริการเกิดขึ้น ประมาณ 15 ปีที่แล้วในเมืองไทยเราก็เริ่มมีการให้บริการประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม Teleconferencing นั่นก็คือการติดต่อสื่อสารทาง ระบบประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งถ้าเป็นแบบเห็นภาพด้วยก็จะเป็น Video Conferencing อัตราค่าบริการเรียกกันเป็นนาที ประชุมกันวันละ 2-3 ชั่วโมงจะเสียเงินค่าใช้จ่ายนี้ราวครั้งหนึ่งๆจะไม่ต่ำกว่า 4-5 หมื่นบาทต่อการติดต่อเพียง 4-5 จุดเท่านั้น

ประชุมต่างสถานที่กันก็อาจจะต่อ สายนอกขององค์การโทรศัพท์ไปยังปลายทาง ต่างสถานที่ ซึ่งบริการพิเศษ Teleconferencing นี้ทางองค์การโทรศัพท์ก็มีให้บริการโดยจ่ายค่าบริการเพิ่มจากปรกติเล็กน้อย สอบถามได้จากองค์การโทรศัพท์(ชื่อใหม่ก็คือ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) www.tot.co.th ) หรือ หากต้องการผ่านคอมพิวเตอร์ไปยังระบบอินเตอร์เน็ต หรือ ที่เรียกกันว่าระบบ VoIP (Voice over IP) ก็ใช้ Software ช่วยในการลดการหน่วงเวลา (delay) ซึ่งมักจะเกิดจากการติดต่อผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่ความเร็วแปรเปลี่ยน ทั้งนี้ทั้งบริษัทแม่ที่จะเป็นศูนย์การประชุม หรือ สั่งงาน และ บริษัทลูก หรือ สาขาของบริษัท ต่างก็จะต้องลงโปรแกรม หรือ Software ตัวเดียวกัน จากแหล่งเดียวกัน เพื่อให้การสื่อสาร 2 ทาง หรือ ทั้งระบบจะประสานสอดรับการใช้เนื้อที่ในเครื่องแม่ข่าย และ ใช้ช่องทางสื่อสาร Bandwidth นั้นอย่างมีประสิทธิภาพคล้องจองกัน


สรุป คือ Teleconferencing ก็จะเป็นการติดต่อสื่อสารกันตั้งแต่ 2 สายขึ้นไป หรืออาจจะเป็นการประชุมหลายเครื่องโทรศัพท์ และ ทุกคนผู้ที่ถือหูโทรศัพท์ต่างก็จะได้ยินเสียงของทุกคนพร้อมๆกัน นั่นก็หมายความว่า ตัวเครื่องโทรศัพท์แต่ละจุด อาจจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ธรรมดา หรืออาจจะเป็นแบบ Hand-free เรียกว่ากดปุ่มให้เสียงออกที่ลำโพง ให้คนในห้องได้ยินกันทุกคน และเมื่อใครจะพูดก็แล้วแต่เสียงก็จะเข้าไปในเครื่องโทรศัพท์ผ่านไมโครโฟน จุดประสงค์ก็คือวางอยู่บนโต๊ะกลางห้องประชุม เครื่องลักษณะนี้ส่วนมากจะให้ออกเสียงที่ลำโพงอย่างเดียว หากต้องการพูดเรื่องส่วนตัวสำหรับคนเดียวก็จะมีปุ่มสวิทซ์เลือกเปลี่ยนสัญญาณไปยังเครื่องโทรศัพท์แบบยกหู นี่ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง โดยทั่วไปหากจะมีการประชุมทางไกลลักษณะใดก็ตาม สิ่งแรกก็คือการนัดหมายเวลา ประการที่สองหัวข้อเรื่อง หรือ วาระการประชุม ก่อนประชุมต้องทดสอบ ทดลองจนแน่ใจเพื่อมิให้การประชุมต้องยุติด้วยเหตุผลความไม่พร้อม หากการประชุมสำเร็จลุล่วงไปแล้ว ก็อาจจะเอาเหตุการณ์ หรือ ผลสรุปที่เกิดขึ้นระหว่างประชุม(ซึ่งบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์)มาย้อนทบทวนดูจุดบกพร่องในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นในครั้งต่อๆไปได้ด้วย


แหล่งที่มา http://www.atshop.com/webboard/show.php?id=251&board_type=2